วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552



โครมาโทกราฟีวิธีโครมาโทกราฟี เป็นวิธีการแยกสารออกจากกัน โดยเฉพาะการแยกสารละลายที่เป็นสารเนื้อเดียวและมองเห็นเพียงสีเดียว วิธีนี้นิยมใช้ทดสอบกับสารที่มีสีหลักการของวิธีโครมาโทกราฟีเป็นการแยกสารโดยอาศัยความแตกต่างของสมบัติด้านต่างๆ ของสาร เช่น สมบัติในการละลาย ขนาดของโมเลกุล ประจุ เป็นต้น วิธีการนี้อาศัยสมบัติของการละลายในตัวทำละลาย และตัวดูดซับ ทั้งนี้เนื่องจากสารแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายและถูกดูดซับบนตัวดูดซับต่างกัน จึงทำให้สารแต่ละชนิดแยกออกจากกันได้ สารที่ละลายได้ดีในตัวทำละลายจะถูกพาให้เคลื่อนที่ออกมาก่อนเมื่อผ่านตัวดูดซับ สารแต่ละชนิดก็จะถูกดูดซับไว้ได้ไม่เท่ากัน โดยสารที่ถูกดูดซับน้อยจะเคลื่อนที่ออกมาก่อน ส่วนสารที่ถูกดูดซับได้ดีจะเคลื่อนที่ออกมาทีหลังประโยชน์ของวิธีการโครมาโทกราฟี1.ใช้แยกสารเนื้อเดียวที่มีส่วนผสมมากกว่า 2 ชนิด เพื่อให้ได้สารบริสุทธิ์2.ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณและชนิดของสารข้อดี1.ถ้ามีสารตัวอย่างจำนวนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทดสอบได้2.สามารถแยกองค์ประกอบต่างๆ ในสารเนื้อเดียวออกจากกันได้3.สามารถทดสอบการแยกสารแต่ละชนิดออกจากกันได้ และบอกได้ว่าสารแต่ละชนิดที่แยกออกมาได้นั้นมีร้อยละเท่าไรข้อจำกัดในกรณีที่องค์ประกอบต่างๆ เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน จะไม

สามารถแยกสารที่เป็นส่วนประกอบออกมาได้ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง โครมาโทกราฟีโครมาโทกราฟี(Chromatography)โครมาโทกราฟี เป็นเทคนิคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการแยกสาร และการวิเคราะห์ โครมาโทกราฟี แปลว่า “การแยกออกเป็นสี” (The production of color scheme) ดังนั้นจึงนิยมใช้แยกสารที่มีสีจากกัน ทั้งนี้เพราะสามารถตรวจสอบได้ง่ายจากสีของสารเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามโครมาโทกราฟี ก็สามารถใช้แยกและวิเคราะห์สารที่ไม่มีสีได้เช่นกัน แต่ต้องมีวิธีการตรวจหาตำแหน่งของสารที่เฉพาะเจาะจงต่างหากหลักการที่สำคัญของโครมาโทกราฟีโครมาโทกราฟี มีหลักการสำคัญอยู่ที่การละลายของสารละลายในตัวทำละลาย และการถูกดูดซับโดยตัวดูดซับ สารที่จะแยกด้วยวิธีโครมาโทกราฟีจะละลายในตัวทำละลายได้ไม่เท่ากัน และถูกดูดซับโดยตัวดูดซับได้ไม่เท่ากัน ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วไม่เท่ากันและแยกออกจากกันได้วิธีการทั่วๆ ไปเมื่อต้องการแยกสารออกจากกันโดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี ให้นำสารผสมนั้นมาละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสม แล้วให้เคลื่อนที่ผ่านไปบนตัวดูดซับ เนื่องจากอัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของสารแต่ละชนิดในตัวทำละลาย และความสามารถในการดูดซับของตัวดูดซับที่มีต่อสารนั้น สารที่ละลายได้ไม่เท่ากันและถูกดูดซับไม่เท่ากันก็จะเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน ทำให้แยกออกจากกันได้ที่มา
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
http://p.moohin.com/080.shtmlhttp://www.taradpra.com/prd/Store.asp?storeNo=2244&gallery=yhttp://adpra.blogspot.com/2008_03_01_archive.htmlThe Web Inquiry Based Learning Modulehttps://www.myfirstbrain.com/Default.aspxe-mailเพลงเพราะๆครับhttp://anchalit.multiply.com/photos/album/7/7









1/1
เด็กชาย จิรวัฒณ์ กิ่งแก้ว
เด็กชาย จีรศักดิ์ แก้วเทศ
เด็กชาย ธนวินท์ สายสุภา
เด็กชาย นิธินันท์ เรือนมูล
เด็กชาย ประวิทย์ ท้องธาร
เด็กชาย พงศ์สิทธิ์ สืบสวน
เด็กชาย รัชชานนท์ พรมมินทร์
เด็กชาย วิฑูร เกิดผล
เด็กหญิง กมลมาศ ดาวคะนอง
เด็กหญิง กิตติยา บัวกล้า
เด็กหญิง คนิจดา นุมัติ
เด็กหญิง จริยา กำมะหยี่
เด็กหญิง จันทิมา เที่ยงตรง
เด็กหญิง จินดารัตน์ ขันติสิริโชค
เด็กหญิง เจนจิรา ปัญญาเครือ
เด็กหญิง ชิดชนก ญาณปัญญา
เด็กหญิง ณัฐฑริกา เรืองขำ
เด็กหญิง ดาราณี แก้วสอน
เด็กหญิง ธันยพร ดอนแก้ว
เด็กหญิง ธารีณี ชื่นชอบ
เด็กหญิง ธีรนาท ชื่นชอบ
เด็กหญิง นันท์นภัส ธุรี
เด็กหญิง นิทยา จีนสมุทร์
เด็กหญิง นิรมล พ้นพาล
เด็กหญิง บุษราภรณ์ หอยศรีจันทร์
เด็กหญิง ปฏิญญาพร เถื่อนประดิษฐ
เด็กหญิง เพชราภรณ์ สีพุทธา
เด็กหญิง รวิสรา นิตรา
เด็กหญิง รัตนาวดี นิโคล ภู่สิงห์
เด็กหญิง ลลิดา คล้ายสุบรรณ
เด็กหญิง วรรณภา บุกล่า
เด็กหญิง วรัญญา เงาะหวาน
ด็กหญิง ศศิธร อมรมุณีพงศ์
เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น
เด็กหญิง ศิริรัตน์ สืบบุญ
เด็กหญิง ศุทธินี ช่วยบุญ
เด็กหญิง สมัชญา งอนไปล่
เด็กหญิง สุธินี ชะม้าย
เด็กหญิง สุนันทา กอนวงศ์
เด็กหญิง อรอนงค์ สุขสัจจี
1/3
เด็กชาย กิตติพงศ์ แก้วนาค
เด็กชาย จเร เขาวิเศษ
เด็กชาย จิรวัฒน์ บุรี
เด็กชาย ทนงศักดิ์ นิราศ
เด็กชาย ทัศนัย ใยไม้
เด็กชาย นิรุทธ์ แก้วกุลศรี
เด็กชาย ปฏิธาร พิงชัยภูมิ
เด็กชายพงศกร ท้าวนาม
เด็กชาย วราเทพ สุภานุสร
เด็กชาย วัชรพงษ์ ดงดอน
เด็กชาย สิทธิพร ทองธรรม
เด็กชาย สืบวงศ์ รอสูงเนิน
เด็กชาย สุทธิพงษ์ ดีอ่อน
เด็กชาย อภิรมย์ โอ่งอิน
เด็กชาย อิทธิพร มีแก้ว
เด็กหญิง กนกพร คชสิงห์
เด็กหญิง กนกพร ประชัน
เด็กหญิง กนกวรรณ โนนพยอ
เด็กหญิง กมลวรรณ จีทา
เด็กหญิง กัลยาณี แก้วกัญจะ
เด็กหญิง เจนจิรา ทองดี
เด็กหญิง ชไมพร ดงดอน
เด็กหญิง ทัดดาว ช่างเจรจา
เด็กหญิง ธนธรณ์ ยงญาติ
เด็กหญิง ปพิชญา เชาว์ดี
เด็กหญิง ปิ่นอนงค์ เอี่ยมจิตร
เด็กหญิง พรธิภา ยอดแย้ม
เด็กหญิง พัชรินญา นิระโทษะ
เด็กหญิง แพรวพรรณ ชมโฉม
เด็กหญิง มธุรส สุวรรณี
เด็กหญิง มัสลิตตา เคราะห์ดี
เด็กหญิง ลักขณา นิตรา
เด็กหญิง วราภรณ์ ทุนมาก
เด็กหญิง สิรินยา มหาภาส
เด็กหญิง สุดารัตน์ แซ่ลี
เด็กหญิง สุทธิกานต์ รื่นกลิ่น
เด็กหญิง แสงระวี เข็มทิศ
เด็กหญิง หทัยชนก สุขย่น
เด็กหญิง หนึ่งฤทัย มโหธร
เด็กหญิง อภิญญา สีแดง



พระราชกรณียกิจอันสำคัญที่ควรกล่าวถึงในเรื่องการอนุรักษ์และการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย คือการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หัดละครผู้หญิงกันได้โดยทั่วไป และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทพระราชนิพนธ์ไปเล่นได้
เมื่อเริ่มรัชกาล ยังไม่มีละครหลวง เพราะละครหลวงเลิกไปเสียแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงรัชสมัยของพระองค์มิได้ทรงรังเกียจ ดังนั้นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี จึงทรงหัดละครเด็กผู้หญิงในพระบรมมหาราชวังขึ้นชุดหนึ่ง แต่ไม่ทันได้ออกแสดง เนื่องจากสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีได้สิ้นพระชนม์ก่อน ต่อมาเมื่อทรงรับช้างเผือก (คือพระวิมลรัตน กิริณี) สู่พระบารมี ใน พ.ศ. 2396 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมละครของสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี ฝึกหัดเป็นละครหลวงได้ออกโรงเล่นสมโภชช้างเผือกเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2397
ในรัชกาลนี้ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าด้วย ละครผู้หญิง พ.ศ. 2398 โปรดอนุญาตให้เจ้านาย ขุนนาง และผู้มีบรรดาศักดิ์หัดละครผู้หญิงขึ้นได้ แต่ได้ขอจำกัดสิทธิ์บางประการไว้สำหรับละครหลวง เช่นรัดเกล้ายอด เครื่องแต่งตัวลงยา พานทอง หีบทอง ซึ่งใช้เป็นเครื่องยศ เครื่องประโคมแตรสังข์ และห้ามมิให้บังคับผู้ที่ไม่สมัครใจเล่นละครให้ได้รับความเดือดร้อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาค 2 58 (หอพระสมุดวชิรญาณ 2465 : 55-56) ความว่า "...แต่ก่อนในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แลแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย มีลครผู้หญิงแต่ในหลวงแห่งเดียว ด้วยมีพระราชบัญญัติห้ามมิให้พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝึกหัดลครผู้หญิง เพราะฉนั้นข้างนอกจึงไม่มีใครเล่นลครผู้หญิงได้ ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดลคร แต่ทว่าทรงแช่งชักติเตียนจะไม่ให้ผู้อื่นเล่น ถึงกระนั้นก็มีผู้ลักเล่นเงียบ ๆ อยู่ด้วยกันหลายราย มาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ พระราชวงศานุวงศ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ผู้ใดเล่นลครผู้ชายผู้หญิงก็มิได้ทรงรังเกียจเลย ทรงเห็นว่ามีลครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เปนเกียรติยศแผ่นดิน เดี๋ยวนี้ท่านทั้งปวงเห็นว่าลครในหลวงมีขึ้นก็หามีใครเล่นลครเหมือนอย่างแต่ก่อนไม่ คอยจะกลัวผิดแลชอบอยู่ การอันนี้มิได้ทรงรังเกียจเลย ท่านทั้งปวงเคยเล่นอยู่แต่ก่อนอย่างไรก็ให้เล่นไปเถิด ในหลวงมีการงานอะไรบ้าง ก็จะได้โปรดหาเข้ามาเล่นถวายทอด พระเนตรบ้าง จะได้พระราชทานเงินโรงรางวัลให้บ้าง ผู้ใดจะเล่นก็เล่นเถิด ขอยกเสียแต่รัดเกล้ายอดอย่างหนึ่ง เครื่องแต่งตัวลงยาอย่างหนึ่ง พานทองหีบทองเปนเครื่องยศอย่างหนึ่ง เมื่อบททำขวัญยกแต่แตรสังข์อย่างหนึ่ง แล้วอย่าให้ฉุดบุตรชายหญิงที่เขาไม่สมัคเอามาเปนลคร ให้เขาได้ความเดือดร้อนอย่างหนึ่ง ขอห้ามไว้แต่การเหล่านี้ ให้ท่านทั้งปวงเล่นไปเหมือนอย่างแต่ก่อนเถิด"
การที่ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใครก็มีละครผู้หญิงได้ การแสดงละครชายจริงหญิงแท้ เริ่มมีเป็นครั้งแรกในสมัยของพระองค์นี้เอง และเกิดการเปลี่ยนแปลงการเล่นละครซึ่งเดิมเป็นละครผู้ชาย กลายเป็นผู้หญิงเล่นแทบทั่วทั้งเมือง ผู้คนก็ชอบดูละครผู้หญิง ดังนั้นละครผู้หญิงจึงแพร่หลาย เจ้าของละครได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการรับงานละครไว้มาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งภาษีโขน-ละคร เพื่อให้เจ้าของละครได้ช่วยเหลือแผ่นดินบ้าง เรียกว่าภาษีโรงละคร พิกัดที่เก็บภาษีละคร เก็บดังนี้คือ
ละครโรงใหญ่เล่นเรื่องละครใน
เล่นเรื่องรามเกียรติ์ เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 20 บาท เล่นเรื่องอิเหนา เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 16 บาท เล่นเรื่องอุณรุท เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 12 บาท
ละครเล่นเรื่องละครนอก
ละครกุมปนี คือเลือกคัดแต่ตัวดีเล่นประสมโรงกัน เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นวันกับคืน 1 ภาษี 3 บาท ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นวัน 1 ภาษี 2 บาท ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นคืน 1 ภาษี 1 บาท ละครเล่นงานเหมา เล่นวันกับคืน 1 ภาษี 1 บาท 50 สตางค์ ละครเล่นงานเหมา เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท ละครเล่นงานเหมา เล่นคืน 1 ภาษี 50 สตางค์ ละครหลวง และละครที่เกณฑ์เล่นงานหลวง ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี กับยังมีการเล่นอย่างอื่นรวมอยู่ในภาษีละครอีกหลายอย่าง จะกล่าวไว้ด้วยพอให้ทราบความเป็นมา คือ โขน เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท ละครหน้าจอหนัง เล่นเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป เล่นคืน 1 ภาษี 2 บาท 50 สตางค์ ละครชาตรีและละครแขก เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์ เพลง เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท แคน มอญรำ ทวายรำ เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์ กลองยาว เล่นวัน 1 ภาษี 12 สตางค์ครึ่ง หุ่นไทย เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท หนังไทย เล่นคืน 1 ภาษี 50 สตางค์ งิ้ว เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท หุ่นจีน เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท หนังจีน เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์
การแสดงเบิกโรงละครใน ก่อนที่จะแสดงละครใน จะต้องมีการแสดงชุดเบิกโรงเสียก่อน โดยผู้แสดงละครใน 2 คน แต่งกายยืนเครื่องพระ สวมหัวเทวดาโล้น สองมือกำหางนกยูง (หัวเทวดาที่ไม่มีมงกุฏ) ออกมารำเบิกโรง เรียกว่า รำประเลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงคิดประดิษฐ์ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง โดยเอาแบบมาจากเครื่องราชบรรณาการ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการรำเบิกโรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการแสดงรำเบิกโรงละครในจากชุดรำประเลง มาเป็นรำดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง โดยใช้ผู้แสดงละครใน 2 คน แต่งกายยืนเครื่องพระ สวมชฏาแทนสวมหัวเทวดาโล้น สองมือถือดอกไม้เงินดอกไม้ทองแทนหางนกยูง แล้วทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้องประกอบการรำดอกไม้เงินดอกไม้ทองขึ้นใหม่ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2463 : 1)
“เมื่อนั้น ไทท้าวเทพบุตรบุรุษสองสองมือถือดอกไม้เงินทอง ป้องหน้าออกมาว่าจะรำเบิกโรงละครในให้ประหลาด มีวิลาศน่าชมคมขำท่าก็งามตามครูดูแม่นยำ เปนแต่ทำอย่างใหม่มิใช่ฟ้อนหางนกยูงอย่างเก่าเขาเล่นมาก ไม่เห็นหลากจืดตามาแต่ก่อนคงแต่ท่าไว้ให้งามตามละคร ที่แต่งตนก้นไม่งอนตามโบราณรำไปให้เห็นเปนเกียรติยศ ปรากฏทุกตำแหน่งแหล่งสถานว่าพวกฟ้อนฝ่ายในใช้ราชการ สำหรับพระภูบาลสำราญรมย์ย่อมช่วงใช้ดอกไม้เงินทอง ไม่เหมือนของเขาอื่นมีถื่นถมถึงผิดอย่างไปใครจะไม่ชม ก็ควรนิยมว่าเปนมงคลเอย”ฯ 10 คำ ฯ
ละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่
1. เจ้าจอมมารดาวาด เป็นตัวอิเหนา มีชื่อเสียงมาก ร่ายรำได้งดงามทั้งฝีมือและรูปร่าง ได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นท้าววรจันทร์ เป็นครู อิเหนา ละครหลวงกรมมหรสพ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นครูพิเศษแก่คณะละครวังสวนกุหลาบ
2. เจ้าจอมมารดาเขียน เป็นตัวอิเหนา เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้หัดละครรำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (พระราชโอรส) เป็นครูพิเศษให้กับละครวังสวนกุหลาบ กระบวนท่ารำที่ท่านคิดค้นขึ้น คือ ท่ารำของละครพันทางเรื่องพระลอ ท่ารำในละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า (ละครร้องเรื่องแรก) ตอนสาวเครือฟ้าแต่งตัวคุณครูเฉลย ศุขะวณิช ท่านได้จดจำนำมาถ่ายทอดให้กับศิษย์ในวิทยาลัยนาฏศิลป
3. เจ้าจอมมารดาสุ่น เป็นตัววิหยาสะกำ ได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเป็นท้าววนิดาวิจาริณี
4. ท้าวชื่น เป็นตัวประสันตา ได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอม- เกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเป็นท้าวอินสุริยา
5. คุณสัมฤทธิ์ เป็นตัวจรกา ได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. เจ้าจอมมารดาสาย เป็นยืนเครื่องชั้นเด็กในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นครูละครในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และครูละครคณะละครวังสวนกุหลาบ ได้รับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำของนางละครหลวง อาทิ ท่ารำฉุยฉายสองนาง (รำเบิกโรงที่แต่งขึ้นใหม่ ใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
7. คุณลิ้นจี่ เป็นตัวทศกัณฐ์ มีชื่อมาก ไม่มีผู้ใดสู้ได้ทั้งหญิง-ชาย เล่ากันว่า เมื่อท่านถึงแก่กรรม (ในรัชกาลที่ 4) แล้ว ไม่โปรดให้ละครหลวงเล่นเรื่องรามเกียรติ์ตอนที่มีบททศกัณฐ์ตลอดรัชกาล ท่านเป็นครูละครให้กับเจ้าจอมมารดาวัน
8. คุณเล็ก เป็นตัวนนทุก เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เป็นท้าวโสภานิเวศน์
9. คุณกุหลาบ ธิดาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เจ้าเมืองสงขลา เป็นตัวทศกัณฐ์นั่งเมือง ได้ไปเป็นครูฝึกละครที่เมืองสงขลาด้วย
10. เจ้าจอมมารดาเอม เป็นตัวนางมะเดหวี เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
11. เจ้าจอมมารดาห่วง เป็นตัวนางจินตะหรา เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
12. เจ้าจอมมารดาทับทิม เมื่อยังเป็นเด็กอยู่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตัว นางแมว ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นตัวนางเกนหลงหนึ่งหรัด ได้เป็นเจ้าจอม เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นครูละครคณะวังสวนกุหลาบ กระบวนท่ารำที่สืบทอดมาในปัจจุบัน ท่านได้ถ่ายทอดกระบวนท่าตัวนางเอกทั้งหมดให้กับละครวังสวนกุหลาบ โดยเฉพาะท่านางเมขลานั่งวิมาน ท่านางแมวในเรื่องไชยเชษฐ์
13. คุณลำไย เป็นตัวนางประเสหรัน ได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
14. คุณลำไย (น้องคุณลิ้นจี่) เป็นตัวนาง บาหยัน ได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
15. คุณอรุน เป็นตัวนางบุษบาชั้นใหญ่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นภรรยาพระยาอรรคราชวราทร (เนตร) ได้กลับเข้ามาเป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
16. เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นตัวนางชั้นเด็ก ได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เป็นครูละครวังสวนกุหลาบ



















รูปแสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบ2. การกลั่นลำดับส่วน ใช้แยกสารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลว เนื่องจากองค์ประกอบมีสถานะเหมือนกัน ทำให้จุดเดือดต่างกันไม่มาก ดังนั้นจึงไม่สามารถทำสารให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการกลั่นธรรมดาได้ เพราะจะได้สารที่กลั่นออกมาไม่บริสุทธิ์อธิบายได้ดังนี้ สารที่ระเหยก่อนยังเป็นไอไม่สมบรูณ์ สารอีกชนิด ก็ระเหยกลายเป็นไอตามมา เมื่อผ่านไปยังเครื่องควบแน่น จะกลั่นตัวได้สารทั้งสองชนิดออกมาจึงเป็นการแยกสารที่ไม่สมบรูณ์ โดยมีหลักการ คือ สามารถแยกสารละลายที่จุดเดือดต่างกันเล็กน้อย และสารที่มีจุดเดือดต่ำจะกลั่นตัวออกมาก่อน เช่น การแยกน้ำออกจากแอลกอฮอล์ (น้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส แอลกอฮอล์มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส) เมื่อนำสารละลายมากลั่น แอลกอฮอล์จะระเหยกลายเป็นไอก่อน ขณะเดือดนอกจากเกิดไอของแอลกอฮอล์แล้วยังมีไอน้ำระเหยตามมาด้วย เมื่อไอลอยขึ้นสู่คอลัมน์แก้วที่อุณหภูมิต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ไอน้ำควบแน่นกลับสู่ขวดกลั่น ส่วนไอของแอลกอฮอล์จะผ่านไปได้และไปกลั่นตัวที่เครื่องควบแน่น ซึ่งมีความบริสุทธิ์ของแอลกอฮอล์เกือบสมบูรณ์รูปแสดงการกลั่นลำดับส่วนนอกจากนี้ การกลั่นลำดับส่วนยังเป็นการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคุณค่าในน้ำมันดิบออกมาใช้ประโยชน์ได้ด้วยกระบวนการนี้










การตกผลึก
การตกผลึกการตกผลึก คือ การแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายต่างกันและได้ไม่เท่ากันทุกอุณหภูมิ มีหลักการ คือ เมื่อนำของผสมละลายในตัวทำละลายต้มสารละลายนั้นจนละลายหมด แล้วทิ้งให้อุณหภูมิลดลง สารที่ละลายน้อยกว่าจะอิ่มตัวแล้วตกผลึกแยกออกมาก่อน เช่น น้ำตาลกับเกลือซิลเวอร์ไนเตรตกับโพแทสเซียมไนเตรต การแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเลรูปแสดงตัวอย่างผลึกบางชนิดการสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย คือ การแยกสารโดยอาศัยสมบัติการละลายของสารในตัวทำละลาย ต้องคำนึงถึงตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารที่ต้องการในปริมาณมาก มีหลักการดังนี้ - เลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อสกัดให้ได้สารที่ต้องการออกมามากและต้องมีสิ่งเจือปนติดน้อยที่สุด และไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด- กรณีที่ต้องแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบปนกันหลายชนิด ต้องเลือกตัวทำละลายที่ละลายสารใดสารหนึ่งได้มากและอีกสารได้น้อยมาก เพื่อให้เจือปนกันน้อยที่สุด- แยกสารที่ไม่ต้องการออกไป โดยกระบวนการแยกสารต่างๆ เช่น การกรอง เป็นต้น- แยกสารที่ต้องการออกจากตัวทำละลายซึ่งวิธีการนี้จะนิยมใช้สกัดสีจากธรรมชาติ สมุนไพร สกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัย









การตกตะกอนการตกตะกอน คือ การแยกสารผสมที่เป็นของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ การนำสารผสมตั้งทิ้งไว้ เนื่องจากอนุภาคของแข็งที่แฝงอยู่นั้นมีน้ำหนัก ดังนั้นจึงตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ จากนั้นรินอนุภาคของเหลวด้านบนออกจากอนุภาคของของแข็งจะทำให้ได้สารบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน ตัวอย่างของผสมที่ใช้วิธีการแยกสารโดยการตกตะกอน คือ น้ำโคลน ประกอบด้วยส่วนของดินที่แขวนลอยในน้ำ เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ อนุภาคของดินจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนน้ำจะใสขึ้นสามารถรินแยกออกจากกันได้ เพื่อเป็นการลดเวลาในการตกตะกอนของสารแขวนลอย นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นเครื่องเหวี่ยง (centrifuge) แรงเหวี่ยงดังกล่าวจะทำให้ของแข็งที่แขวนลอยในของเหลวตกตะกอนได้ง่ายและเร็วขึ้นรูปแสดงเครื่องเหวี่ยงที่ใช้ในการตกตะกอน








วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

ดิฉันได้จัดทำเว็บบล็อคแห่งนี้ขึ้นเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดูหนังสือเตรียมตัวสอบ การสร้างแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การนำข้อมูลจัดทำ Microsoft PowerPoint การจัดทำงานแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รูปแบบ e-book เพื่อให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากการเรียนรู้ในห้องเรียน ขอขอบพระคุณเว็บไซต์BLOGSPOT.COM ที่ให้พื้นที่ในการจัดทำเว็บไซต์ฟรีทุกอย่าง ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆที่นำมาลงเป็นบทความครับ ประโยชน์จากการเรียนรู้นี้ขอมอบให้ผู้อ่านทุกคน ขอเชิญติ ชม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือข้อเสนอแนะได้ที่เว็บบอร์ดค่ะ และขอขอบคุณครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์
การตกผลึกการตกผลึก คือ การแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายต่างกันและได้ไม่เท่ากันทุกอุณหภูมิ มีหลักการ คือ เมื่อนำของผสมละลายในตัวทำละลายต้มสารละลายนั้นจนละลายหมด แล้วทิ้งให้อุณหภูมิลดลง สารที่ละลายน้อยกว่าจะอิ่มตัวแล้วตกผลึกแยกออกมาก่อน เช่น น้ำตาลกับเกลือซิลเวอร์ไนเตรตกับโพแทสเซียมไนเตรต การแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเลรูปแสดงตัวอย่างผลึกบางชนิดการสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย คือ การแยกสารโดยอาศัยสมบัติการละลายของสารในตัวทำละลาย ต้องคำนึงถึงตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารที่ต้องการในปริมาณมาก มีหลักการดังนี้ - เลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อสกัดให้ได้สารที่ต้องการออกมามากและต้องมีสิ่งเจือปนติดน้อยที่สุด และไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด- กรณีที่ต้องแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบปนกันหลายชนิด ต้องเลือกตัวทำละลายที่ละลายสารใดสารหนึ่งได้มากและอีกสารได้น้อยมาก เพื่อให้เจือปนกันน้อยที่สุด- แยกสารที่ไม่ต้องการออกไป โดยกระบวนการแยกสารต่างๆ เช่น การกรอง เป็นต้น- แยกสารที่ต้องการออกจากตัวทำละลายซึ่งวิธีการนี้จะนิยมใช้สกัดสีจากธรรมชาติ สมุนไพร สกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัย
การตกตะกอนการตกตะกอน คือ การแยกสารผสมที่เป็นของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ การนำสารผสมตั้งทิ้งไว้ เนื่องจากอนุภาคของแข็งที่แฝงอยู่นั้นมีน้ำหนัก ดังนั้นจึงตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ จากนั้นรินอนุภาคของเหลวด้านบนออกจากอนุภาคของของแข็งจะทำให้ได้สารบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน ตัวอย่างของผสมที่ใช้วิธีการแยกสารโดยการตกตะกอน คือ น้ำโคลน ประกอบด้วยส่วนของดินที่แขวนลอยในน้ำ เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ อนุภาคของดินจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนน้ำจะใสขึ้นสามารถรินแยกออกจากกันได้ เพื่อเป็นการลดเวลาในการตกตะกอนของสารแขวนลอย นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นเครื่องเหวี่ยง (centrifuge) แรงเหวี่ยงดังกล่าวจะทำให้ของแข็งที่แขวนลอยในของเหลวตกตะกอนได้ง่ายและเร็วขึ้น





การกรองการกรอง คือ การแยกสารผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยใช้กระดาษกรองซึ่งมีรูพรุนขนาดเล็ก ทำให้อนุภาคของของแข็งนั้นไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ ส่วนอนุภาคของของเหลวจะผ่านกระดาษกรองได้ ซึ่งในชีวิตประจำวันเราจะคุ้นเคยกับการกรองในรูปของการใช้ผ้าขาวบางในการคั้นน้ำกะทิจากมะพร้าว แผ่นกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กรองน้ำสะอาดในเครื่องกรองน้ำ เป็นต้น









วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

กรมอุตุนิยมวิทยา
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ข่าวสด
ครูจูดี้ โรงเรียนสุพีเรีย รัฐวิคอนซิน สหรัฐอเมริกา
ครูฉลิต ฉายกี่ โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูบ้านนอก
ครูประนอม ฉายกี่
ครูราตรี โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูวันเพ็ญ โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูวีระศักดิ์
ครูไทย
ครูไทยแลนด์ดอทเน็ต
ความรู้อุตุนิยมวิทยา
จิระวัฒน์ บุรี 1/3
ผอ.คณิตพันธ์
ผอ.เฟรด สหรัฐอเมริกา
พระอภัยมณี
พันธะเคมี
ฟิสิกส์นิวเคลียร์
มติชน
ระบบประสาท
ศูนย์...ไม่ศุนย์
สอบครูดอทเน็ต
สังข์ทอง
ห้อง 4/2 โรงเรียนเมืองเชลียง
ห้อง 6/2 โรงเรียนเมืองเชลียง
อ.จิระ งอกศิลป์
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
เดลี่นิวส์
โลกและดาราศาสตร์
ไทยรัฐ

ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1
เขียนโดย ด.ญ. สิรินยา มหาภาส 0 ความคิดเห็น


รูปที่ 2 ขั้นตอนของการกรองน้ำให้สะอาด
6. วิธีกรอง
ก. เทน้ำลงในโอ่งใบที่ 1 ใส่คลอรีนประมาณ 1 ช้อนชาและแกว่งสารส้ม (น้ำที่เทลงในโอ่งจะเป็นน้ำที่เสีย คือ สกปรกซึ่งอาจนำมาจากตามแม่น้ำลำคลอง)
ข. น้ำจะถูกกรองโดยโอ่งใบที่ 2 ผ่านกรวดและทรายเอ่อ ขึ้นสวนทางกับแรงดึงดูดของโลก และไหลออกทาง สายยางที่ปากโอ่งใบที่ 2 ไปยังก้นโอ่งใบที่ 3
ค. น้ำจะถูกกรองจากโอ่งใบที่ 3 เช่นเดียวกับโอ่งใบที่ 2
ง. น้ำที่ออกจากโอ่งใบที่ 3 เราดื่มได้เลย จำนวนน้ำที่ได้ ประมาณ 60-70 ลิตรต่อวัน
7. วิธีล้างโอ่งกรอง
ถอดสายยางตรงขั้วต่อออก ปล่อยน้ำจากก้นโอ่งกรองที่ 2 และ 3 ออกจนหมดน้ำขุ่นเท่านั้น
ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่นนี้ เราก็สามารถได้น้ำที่สะอาด น้ำที่ ผ่านขั้นตอนเหล่านี้มาแล้วสามารถนำไปดื่มได้ทันที
นอกจากจะช่วยให้ประโยชน์แก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม แล้ว เครื่องกรองน้ำแบบง่าย ๆ นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีสำหรับผู้ที่ บ้านอยู่ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าใช้มากที่สุด คือผู้ที่อาศัยตามหมู่บ้านที่สูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ หรือถ้าอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อย่างใกล้ชิด เช่น หมู่บ้านจัดสรร หรือหมู่บ้านที่มีโครงสร้างสนิทสนมกัน มากตามแบบไทย ๆ ก็อาจดัดแปลงร่วมใจกันสร้างเครื่องกรองน้ำสำหรับ ชุมชนขนาดย่อมได้ โดยช่วยกันสละเงินคนละเล็กคนละน้อย แล้วช่วยกันดู แลรักษา ตัวอย่างที่ทำกันมาแล้วเช่น เช่นที่อำเภอหัวไผ่ จังหวัดอ่างทอง และ ที่โรงเรียนสลัมคลองเตย ซึ่งปรากฏว่า มีน้ำสะอาดบริโภคกันอย่างทั่วถึง
โครงการเกลือคุณภาพ น้ำปลาคุณภาพ น้ำดื่มสะอาด ศิริราช 21

รูปที่ 1 แสดงการเจาะตุ่มหรือโอ่ง ต่อสายยาง และการบรรจุกรวดและทราย












3. ต่อสายยาง
ก. ต่อสายยางจากรูที่ก้นโอ่งใบที่ 1 กับสายยางที่รูก้นโอ่ง ใบที่ 2 โดยใช้ขั้วต่อ
ข. ต่อสายยางจากรูที่ปากโอ่งใบที่ 2 กับสายยางที่รูก้น โอ่งใบที่ 3 โดยใช้ขั้วต่อเช่นเดียวกัน
ค. เสียบสายยางที่รูปากโอ่งใบที่ 3 และปล่อยสายยาง ทิ้งไว้4. วิธีบรรจุกรวดและทราย
ก. กรวดและทรายละเอียดที่ใช้ต้องล้างให้สะอาด
ข. วิธีบรรจุกรวดและทรายละเอียดในโอ่งใบที่ 2 และ 3 เหมือนกัน
ค. ใส่กรวดลงก่อนให้สูงพอมิดสายยาง เพื่อกันไม่ให้ ทรายเข้าไปอุดรูสายยาง
ง. แล้วใส่ทรายละเอียดลงไปให้ความสูงของทรายอยู่ใต้ รูบนประมาณ 1 นิ้ว
5. การยกระดับ ช่วยให้การไหลของน้ำดีขึ้น และป้องกันการไหล ย้อนกลับ
ก. โอ่งใบที่ 1 สูงจากระดับพื้น 20 นิ้ว
ข. โอ่งใบที่ 2 สูงจากระดับพื้น 10 นิ้ว
ค. โอ่งใบที่ 3 สูงจากระดับพื้น 3 นิ้ว

เครื่องกรองน้ำสะอาดแบบชาวบ้าน












คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช โดย ศจ.นพ. ร่มไทร สุวรรณิก ได้คิดค้นเครื่องกรองน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์แบบประหยัด ด้วยวิธีการ ง่าย ๆ และลงทุนในราคา 300-400 บาท
1. อุปกรณ์
ก. โอ่งหรือถัง สูงประมาณ 18 นิ้ว (อาจจะมากกว่าก็ได้) จำนวน 3 ใบ
ข. สายยางใส เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. ยาว 2 เมตร
ค. ขั้วต่อสายยาง คอยปรับระดับน้ำให้ไหลมากหรือน้อย 2 อัน สายยางและต้นขั้วต่อสายยางนั้นอาจใช้ชุดของ สายน้ำเกลือนำมาใช้ได้เลย ซึ่งสามารถขอได้ตาม โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีที่ปรับเร่งให้ไหลเร็วหรือช้า ก็ได้
2. วิธีเจาะ
ก. เจาะตุ่มด้วยฆ้อนกับตะปู กว้างพอกับสายยาง
ข. โอ่งหรือถังใบที 1 เจาะ 1 รู สูงจากก้นโอ่ง 2 นิ้ว
ค. โอ่งหรือถังใบที่ 2 และ 3 เจาะ 2 รู รูล่างให้เสมอกับ โอ่ง รูบนวัดจากปากโอ่งลงมา 2-3 นิ้ว






การสร้างที่เก็บน้ำด้วยไม้ไผ่เครื่องสานจากไม้ไผ่ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรก็ตามสามารถทำ ให้เป็นภาชนะสำหรับเก็บน้ำได้ โดยการนำมาฉาบด้วย “ฟลิ้นโค้ท” ซึ่งเป็น สารผสมที่ทำมาจากยางมะตอยและสารยึดเหนี่ยวหลายชนิด เป็นของเหลว ที่แห้งเร็วมีคราบเหนียว ผสมน้ำได้ แต่เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายน้ำ ทนน้ำและ ทนทานต่อความร้อน เย็น ไม่ละลายเมื่อถูกแดดเหมือนยางมะตอย และไม่ ผุกรอบเหมือนชัน จึงมีความทนทานและมีราคาถูก ส่วนเครื่องสานไม้ไผ่ ควรสานให้ทึบที่สุด เพื่อให้ฉาบฟลิ้นโค้ทได้ง่าย วัสดุและอุปกรณ์ 1. เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ2. ฟลิ้นโค้ทชนิดผสมน้ำหาซื้อได้ตามร้านขายปุ๋ย ขายสีทาบ้าน หรือยาฆ่าแมลงหรือตามปั๊มน้ำมันเชลล์ทั่วไป 3. ผ้าฝ้ายเป็นผ้าเก่าหรือใหม่ก็ได้ หรือกระดาษสา ถ้าหาไม่ได้ก็ ใช้เศษกระดาษทั่วไปแทนก็ได้ 4. แปรงสำหรับใช้ทา หรือจะใช้มือก็ได้ ภาพตัวอย่างเครื่องสานวิธีทาฟลิ้นโค้ทบนเครื่องสานเริ่มทางด้านในก่อนตามลำดับดังนี้ 1. ใช้ฟลิ้นโค้ทผสมน้ำเล็กน้อยทาบาง ๆ ให้ทั่วเป็นชั้นแรก นำไป ผึ่งแดดให้พอหมาด 2. ใช้ฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทาจนทั่วเป็นชั้นที่สอง ผึ่งแดดแห้งพอหมาด แล้วจึงทาชั้นที่สามให้ทึบ 3. เอาผ้าฝ้ายตัดเป็นชิ้นในขนาดที่ทำสะดวก ชุบน้ำให้เปียกจนทั่ว บีบน้ำทิ้งแล้วชุบฟลิ้นโค้ท แล้วบุด้านในให้ชายผ้าทับกันให้เรียบร้อย ค่อย ๆ ทำไปทีละชิ้นจนแล้วเสร็จ ถ้าเป็นกระดาษสาไม่ต้องชุบน้ำ เมื่อบุดังนี้ เสร็จแล้วรีบทาทันทีเป็นชั้นที่สี่ แล้วตากให้แห้งพอหมาด ๆ 4. ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทับให้ทั่วเป็นชั้นสุดท้าย ด้านนอก : ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ให้ทั่วสักสองชั้น โดยเว้นระยะผึ่ง แดดเหมือนด้านใน ทั้งสองด้านนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทุกอย่างแล้ว ให้ตากแดดทิ้งไว้สัก 1 วัน ก็นำมาใส่น้ำได้ น้ำจะไม่มีพิษหรือกลิ่นที่เป็นอันตราย ดื่มหรือใช้ได้ตามความต้องการข้อดีของที่เก็บน้ำแบบนี้คือ ราคาถูกเพราะสานได้เอง มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก ทนทานต่อแดดฝน กันปลวกมอดได้ดีกว่าเครื่องสานอื่น ๆ และ ซ่อมแซมง่ายเมื่อเกิดการรั่วซึมข้อควรระวังเมื่อฟลิ้นโค้ทเปื้อนเสื้อผ้า ต้องรีบขยำน้ำทันที ถ้าปล่อยให้แห้งต้อง ซักด้วยน้ำมันก๊าซ อย่าใช้ภาชนะนี้ใส่น้ำมัน เพราะฟลิ้นโค้ทแบบผสมน้ำนี้ สามารถละลายได้ในน้ำมัน ฟลิ้นโค้ทที่เหลือใช้ควรเก็บไว้ในที่ปกปิดมิดชิด ถ้าเก็บดีจะนำมาใช้ได้อีก ไม้ไผ่ที่นำมาสานต้องมีอายุแก่พอเหมาะที่จะใช้ งานได้ดี เพื่อป้องกันมอด ฝีมือสานก็ต้องดีพอ และถ้าทำขนาดใหญ่ควร มีโครงแข็งแรงเพิ่มขึ้น เมื่อยังไม่แห้งสนิท อย่าให้ถูกน้ำหรือตากฝน เพื่อนเกษตร 6(9), 2522ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1
เขียนโดย ด.ญ.สิรินยา มหาภาส 0 ความคิดเห็น

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552






คนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ

นายกฯชวนคนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ 9 ก.ย.นี้6/9/2552นายกรัฐมนตรี เชิญชวนคนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 9 เดือน 9 ปี 09 เวลา 9.09 นาทีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สวมเสื้อยืดคอปก ปักหน้าอก 9 ในดวงใจ เพื่อรณรงค์ในโครงการนี้ โดยขอให้ประชาชนและทุกหน่วยงานร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีในวันพุธที่ 9 กันยายนนี้ เวลา 9 นาฬิกา 9 นาที ซึ่งถือเป็นเลขมงคล 9/09/09/ 9.09 น.
ที่มา
http://www.krobkruakao.com/kkn/?a=news&s=detail&news_id=8177

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552


การจำแนกสารรอบตัว1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกันสารละลายสารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3 ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซสารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมากสารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อยสารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้องสารบริสุทธิ์สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สีที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=imageจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีดมีตรี เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ